บำนาญ 3,000 คืออะไร ? โดย ดร.นิค สุวดี - ดร.นิค dr.nick สุวดี พันธุ์พานิช dr.suwadee

บำนาญ 3,000 คืออะไร ? โดย ดร.นิค สุวดี

วันนี้นิคจะมาคลายข้อสงสัยว่า บำนาญ 3,000 บาทคืออะไร

แล้วจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศได้ตรงไหน

ลองมาทำความเข้าใจพร้อมกันดูค่ะ

.

.

1 สนับสนุนคนสูงวัยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

.

จากเบี้ยสูงอายุ 600 บาท

จะได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 บาททุกคน

เพื่อให้ผู้สูงวัยอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี

และมีเงินเพียงพอในการดำรงชีวิต

.

.

2 ลดภาระลูกหลานในการสร้างตัว

.

ลูกหลานลำพังทำงานเลี้ยงตัวเองก็ลำบากแล้ว

ยังต้องส่งเงินดูแลที่บ้านอีกเพื่อตอบแทนบุญคุณ

แต่ถ้าหากผู้สูงวัยมีรายได้เพิ่มขึ้น

ก็จะช่วยแบ่งเบารายจ่ายในการส่งเสียเงินจากลูกหลาน

ทำให้คนหนุ่มสาวสร้างตัว เก็บออม ได้รวดเร็วและมั่นคงกว่าเดิม

.

.

3 เสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงผ่านภารกิจ

.

เงิน 3,000 บาทไม่ได้แจกจ่ายให้เปล่าๆ

แต่ต้องทำภารกิจด้วยการรักษาสุขภาพและออกกำลังกาย

ผ่านศูนย์ส่งเสริมสุขภาพประชาชน

ที่จะกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ภายในประเทศ

เพิ่มความสดใส ความแข็งแรงทั้งสมองและร่างกายให้คนสูงวัย

ลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดัน เบาหวาน

ที่จะนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ในอนาคต

.

.

4 ลดค่าใช้จ่ายพยาบาลและรายจ่ายรัฐในโครงการ 30 บาท

.

เมื่อคนแก่ภายในประเทศกว่า 11.62 ล้านคนสุขภาพดีขึ้น

โดยผ่านโครงการส่งเสริมสุขภาพ

ค่าใช้จ่ายพยาบาลในบ้านก็จะลดลง

รวมถึงรายจ่ายของรัฐที่ต้องแบกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน

.

.

5 ผู้สูงวัยกลับไปทำงาน สร้างรายได้ให้ตนเองได้

.

ทันทีที่คนสูงอายุภายในประเทศสุขภาพดีขึ้น

ก็จะสามารถกลับเข้าไปสู่ตลาดแรงงาน

กลับไปสร้าง Productivity ได้หลากหลายรูปแบบ

ที่สามารถเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับตนเองมากขึ้น

ไม่ต้องรอพึ่งเงินจากรัฐ หรือจากครอบครัวเพียงอย่างเดียว

.

.

6 กระจายรายได้สู่รากหญ้าให้แข็งแรง

.

ผู้สูงวัยที่ได้รับเงินบำนาญ 3,000 บาท

ซึ่งมากกว่าเงินที่ได้ในปัจจุบันหลายเท่า

จะมีเงินในการใช้จ่ายเพื่อดำรงชีพมากขึ้น

โดยเงินเหล่านั้นจะกระจายไปตามชุมชนย่อยๆ

กลุ่มคนรากหญ้าจะแข็งแรงขึ้น

ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นฟูขึ้นตามไปด้วย

.

.

7 ตอบรับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยในประเทศ

.

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก

ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์

คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่า 20% ในประเทศ

แต่ผู้สูงวัยในประเทศของเรากลับด้อยพัฒนา

เพราะไม่แข็งแรงทั้งสุขภาพ และมีเงินเลี้ยงชีพไม่พอ

หากไม่ปรับโครงสร้างเพื่อดูแลคนวัยเกษียณโดยเฉพาะ

ภายในอนาคตจะทำให้รายได้ของประเทศชะลอตัวลง

และต้องโอบอุ้มรายจ่ายที่มาจากคนสูงวัยเพิ่มมากขึ้น

.

.

8 ทำไมต้อง 3,000 บาท?

.

เพราะ 3,000 บาท

คือ จำนวนเงินที่เหนือกว่าเส้นขีดความยากจน

ซึ่งอยู่ที่ 2,700-2,800 บาท

โดยจำนวนเงินนี้จะทำให้ผู้สูงอายุ

ยังชีพในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

ร้องเรียน - ร้องทุกข์