10 ความเข้าใจผิด vs ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแพทย์ - ดร.นิค dr.nick สุวดี พันธุ์พานิช dr.suwadee

10 ความเข้าใจผิด vs ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแพทย์

ความเชื่อโบราณที่ว่าดี แต่บางทีก็อาจมีผิดพลาดกันได้
เพื่อป้องกันไม่ให้เรารักษากันอย่างผิดวิธี จากแผลเล็กจนกลายเป็นเรื่องใหญ่
วันนี้นิคมี 10 ความเข้าใจผิดที่เรามักได้ยินบ่อยๆ
กับความจริงที่ถูกต้องทางการแพทย์ มาเป็นความรู้ให้ทุกคนลองศึกษากันค่ะ
ใครเคยได้ยินข้อไหนมาบ้าง หรือใครเคย(ถูกบังคับ)ทำอันไหนไปแล้วบ้าง
ลองมาแชร์กันดูได้นะคะ

ลำดับความเข้าใจผิดข้อเท็จจริงคำอธิบายเพิ่มเติม
1เมื่องูกัดให้เอาเชือกรัด และดูดพิษออกจากปากแผลให้ล้างด้วยน้ำเปล่า อย่ายกส่วนที่โดนงูกัดเหนือหัวใจ และรีบนำส่งโรงพยาบาล
การใช้เชือกรัดเหนือบริเวณที่งูกัดจะทำให้เนื้อเกิดการเน่าได้ และหากใช้ปากดูดพิษออกก็จะทำให้พิษกระจายเข้าสู่ผู้ที่ทำการปฐมพยาบาล   สิ่งที่ควรทำคือ รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด จดจำรูปร่างของงูที่กัด อย่ายกส่วนที่โดนกัดเหนือหัวใจ เพราะจะทำให้พิษแพร่กระจายเร็วขึ้น อ้างอิง : https://www.pobpad.com/งูกัด
2ก้างติดคอให้กลืนข้าวเหนียวใช้น้ำเปล่ากลั้วบริเวณลำคอแล้วบ้วนออก หากไม่ดีขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการคีบก้างออกภายใน 24 ชั่วโมง
เมื่อก้างติดคอแล้วกลืนข้าวเหรียว ขนมปัง มาชเมลโล่ลงไปทั้งก้อน นอกจากจะไม่ทำให้ก้างออกแล้ว อาจทำให้ก้างทิ่มลงไปลึกกว่าเดิมจนเกิดการอักเสบขึ้นด้วย   ทางที่ดีคือ ควรกลั้วคอด้วยน้ำเปล่า หากก้างมีลักษณะที่เล็กก็จะหลุดออกมาพร้อมกับน้ำที่บ้วนออกมา แต่ถ้าหากยังไม่หาย อย่าใช้นิ้วล้วง หรือควานให้มันออกมา จะยิ่งทำให้ก้างติดลึกขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยคีบก้างออกภายใน 24 ชั่วโมง เพราะหากก้างติดนานก็จะสามารถทำให้บริเวณนั้นเกิดอาการอักเสบได้ อ้างอิง : (1)https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ทำอย่างไรเมื่อก้างปลาต/ (2)https://www.pobpad.com/ก้างปลาติดคอ-เผลอกลืนวั
3เขียนเสือที่แก้ม ช่วยรักษาคางทูมได้พักผ่อนให้เพียงพอ งดทานอาหารรสจัด ทานยาระงับปวด และใช้ผ้าประคบร้อน-เย็น เพื่อลดการอักเสบของบริเวณต่อมน้ำลายโรคคางทูม สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัส หรือรับละอองเชื้อของผู้ป่วยที่แพร่ไปในอากาศ เป็นไวรัสกลุ่ม Paramyxovirus ที่จะทำให้ต่อมน้ำลาย และใต้คางเกิดการอักเสบ   การรักษาที่ถูกวิธีคือ พักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อปวดให้ทานยาพาราได้ และใช้ผ้าประคบร้อน หรือ เย็น เพื่อช่วยบรรเทาการอักเสบของบริเวณต่อมน้ำลายที่เกิดการติดเชื้อ อ้างอิง : (1) https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/เขียนเสือที่แก้ม-รักษาโ/ (2) https://www.pobpad.com/คางทูม
4เลือดกำเดาไหล ต้องรีบนอนหงาย หรือ เงยหน้าขึ้นควรนั่งตรง ก้มหน้าลงเล็กน้อย หายใจทางปาก 5-10 นาทีเพื่อให้เลือดหยุดไหล
การเลือดกำเดาไหล เกิดจากเส้นเลือดฝอยภายในโพรงจมูกแตก จึงทำให้มีเลือดไหลออกมา การนอนหงาย อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าไป เข้าสู่ลำคอ และออกปากได้ หรือในบางกรณีอาจทำให้เกิดการสำลัก   ดังนั้นทางที่ดีผู้ป่วยควรนั่งจะดีกว่า แล้วก้มหน้าลงเล็กน้อย บีบจมูกไว้เบาๆ และหายใจทางปาก 5-10 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล และไม่ทำให้เกิดอาการสำลัก อ้างอิง : (1)https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=10&chap=6&page=t10-6-infodetail15.html (2)https://oryor.com/media/checkSureShare/media_specify/820
5เมื่อเลือดไหลต้องรีบดูดเลือดเพื่อให้เลือดหยุดรีบล้างมือด้วยน้ำสะอาด ใช้ผ้าหรือสำลีกดแผลไว้ประมาณ 15 นาที เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วให้ทำการล้างแผลอีก 1 รอบ จากนั้นจึงใส่ยา
ในกรณีที่เราโดนมีดบาด หรือเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ตามร่างกายจนเลือดไหล สิ่งที่ห้ามทำคือ การดูดเลือดบริเวณที่เป็นแผล เพราะจะทำให้แผลยิ่งติดเชื้อง่ายยิ่งขึ้น   ในกรณีที่แผลเล็กๆ ปล่อยไว้เฉยๆ เลือดก็จะสามารถหยุดได้เอง แต่หากแผลใหญ่หน่อย และจำเป็นต้องห้ามเลือดจริงๆ ให้รีบล้างปากแผลให้สะอาด นำผ้าสะอาดหรือสำลีกดบริเวณแผลไว้ 15 นาที ห้ามกดแรง และห้ามเปิดดูระหว่างกด เพราะอาจทำให้เลือดไหลเยอะกว่าเดิม เมื่อครบ 15 นาทีเลือดควรจะต้องหยุดไหล แล้วทำการใส่ยาตามลำดับ แต่ถ้าหากครบแล้วเลือดยังไม่หยุด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที อ้างอิง : (1)https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ondemand/เลือดออก-ต้องรีบดูดเลื/
6เสี้ยนตำให้ใช้นิ้วบ่งรีบล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง นำเข็มสะอาดค่อยๆ บ่งออก หรือใช้แหนบในการคีบอย่างเบามือ
หลายคนคงคุ้นเคยกับวิธีการใช้นิ้วบ่งเสี้ยน เพื่อหวังจะให้มันออกเหมือนสิว แต่การกระทำดังกล่าวนอกจากจะไม่ทำให้เสี้ยนออกแล้ว ก็อาจทำให้บริเวณที่โดนเสี้ยนตำอักเสบเป็นวงกว้าง จนเกิดแผลได้   สิ่งที่ควรทำคือ รีบไปล้างมือด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง จากนั้นหาเข็มสะอาดที่ผ่านการล้างและฆ่าเชื้อแล้ว มาบ่งบริเวณโดนเสี้ยนตำ หรืออาจจะใช้แหนบค่อยๆ คีบออกอย่างเบามือ เพื่อป้องกันการอักเสบนั่นเอง อ้างอิง : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ondemand/เสี้ยนตำช้ำใจ-เอาออกยั/
7เมื่อเป็นไข้ต้องเช็ดตัวด้วยน้ำร้อนควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้อง ออกแรงเช็ดให้แรง เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อและหลอดเลือดฝอยให้ทำงานได้คล่องขึ้น
เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นไข้ ห้ามเช็ดตัวด้วยน้ำร้อนจัดหรือน้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปกติ   ทางที่ดีแนะนำให้เช็ดด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง ออกแรงเช็ดบริเวณผิวหนังให้แรงกว่าปกติ เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อ และเส้นเลือดฝอยทำงานได้คล่องขึ้น เพื่อทำให้ร่างกายสร้างพลังงานมากขึ้น และทำให้อุณภูมิร่างกายสมดุลขึ้นด้วย อ้างอิง : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ondemand/ลดไข้-ใช้น้ำร้อนหรือน้/
8น้ำร้อนลวกให้ใช้ยาสีฟันพอกแล้วจะหายเปิดน้ำสะอาดผ่านบริเวณโดนลวกป้องกันการอักเสบ จากนั้นใช้ผ้าสะอาดเช็ดอย่างเบามือ ทาว่านหางจระเข้ หรือรีบไปพบแพทย์ในทันที
เป็นความเชื่อที่ผิดอย่างร้ายแรง ในการใช้ยาสีฟันพอกแผลพุพอง เพราะทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อและอักเสบหนักกว่าเดิม   ทางที่ดีควรเปิดให้น้ำสะอาดไหลผ่านแผล เพื่อลดการอักเสบและเป็นการทำความสะอาดไปในตัว เสร็จแล้วจึงเช็ดด้วยผ้าสะอาดเบามือ ทาว่านหางจระเข้ไว้บรรเทาอาการปวดหรือแสบ   ในกรณีที่แผลใหญ่มาก หรืออาการไม่ดีขึ้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที อ้างอิง : (1)https://oryor.com/media/checkSureShare/media_specify/785 (2)https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ยาสีฟัน-รักษาแผลไฟไหม้-น/
9กินฟ้าทะลายโจร ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้มีฤทธิ์ป้องกันและบรรเทาอาการไข้หวัด แต่ไม่มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีความเชื่ออย่างหนักหน่วงว่า ฟ้าทะลายโจร สามารถช่วยป้องกันให้เราห่างไกลจากโควิด-19 ได้   ซึ่งความเชื่อนี้ไม่เป็นจริง เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ แต่สรรพคุณของฟ้าทะลายโจรนั้น มีฤทธิ์ในการต้านไข้ บรรเทาอาการเจ็บคอ และปวดเมื่อยต่างๆ ได้จริง แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันโควิด-19 อ้างอิง : https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ฟ้าทะลายโจร-ป้องกันโควิ/
10เมื่อฟกช้ำให้ใช้ยาหม่องนวดให้ประคบด้วยแผ่นประคบเย็น หรือผ้าชุบน้ำเย็น 10 นาที 2-3 ครั้ง
ผู้ใหญ่หลายคนเคยชินกับการทายาหม่องบนแผลฟกช้ำสารพัด แต่ความจริงแล้วการรีบทายาหม่องลงบนบริเวณที่เกิดการฟกช้ำ จะยิ่งทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว ส่งผลให้เลือดคั่ง มีอาการบวมแดง และปวดมากกว่าเดิม   ทางที่ดีจึงควรประคบเย็นมากกว่าประคบร้อน คือ การชุบน้ำเย็น หรือหาแผ่นประคบเย็นมาโปะไว้ที่บริเวณฟกช้ำ ทิ้งไว้ 10 นาที ทำแบบนี้ 2-3 ครั้ง ก็จะทำให้บริเวณที่ฟกช้ำดีขึ้น ไม่ปวด และลดอาการบวมลงได้ด้วย อ้างอิง : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ondemand/ฟกช้ำดำเขียว-ยาหม่องถ้/
Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

ร้องเรียน - ร้องทุกข์