อย่างที่ทุกคนทราบกันดีนะคะ
ว่าประเทศไทยของเรากำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ซึ่งพวกเราที่นั่งกันอยู่ในวันนี้
ก็จะต้องเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมสูงวัยในวันข้างหน้า
แล้วเราจะรับมือได้อย่างไร กับสุขภาพที่โรยราลงในทุกวัน
วันนี้นิคจึงมีสถิติจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)
มาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ
ว่า 10 สถิติโรคที่คนสูงวัยมักเป็นกันมีอะไรบ้าง
สาเหตุเกิดจากกอะไร อาการเป็นอย่างไร ภาวะความเสี่ยง
และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคสามารถทำได้อย่างไรบ้างค่ะ
มาอ่านและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงไปพร้อมๆ กันนะคะ
1. เบาหวาน
- ชาย : ร้อยละ 19.90
- หญิง : ร้อยละ 30.97
- สาเหตุ
- กรรมพันธุ์
- น้ำหนักเกิน
- มีความเครียดเรื้อรัง
- การได้รับยาบางชนิด
- อายุที่มากขึ้น ทำให้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากขึ้น
- อาการ
- ปัสสาวะบ่อย
- กระหายน้ำ
- อ่อนเพลียง่าย
- หิวบ่อย อยากกินจุจิกตลอดวัน
- คันตามตัว มีผื่นขึ้น
- ปลายมือ ปลายเท้าชา
- ตาพร่ามองอะไรไม่ค่อยชัด
- ความเสี่ยง
- อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป
- มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน
- มีความดันโลหิตสูง
- ดื่มสุรา สูบบุหรี่เป็นประจำ
- สตรีที่เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- คนที่ไม่ออกกำลังกายเลย
- วิธีป้องกัน
- เลือกกินแป้งที่ไม่ขัดสี
- งดสูบบุหรี่ งดแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ออกห่างจากความเครียด
- ไม่กินของหวาน มัน เค็ม มากจนเกินไป
- ไม่รับประทานยาเอง โดยปราศจากคำวินิจฉัยของแพทย์
2. โรคหลอดเลือดสมอง
- ชาย : 5.83
- หญิง : 4.07
- สาเหตุ
- มีภาวะความดันโลหิตสูง
- มีไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดตีบตัน
- การสูบบุหรี่ บ่อนทำลายผนังหลอดเลือด
- ใช้ยาคุมกำเนิดในผู้หญิง
- อาการ
- เดินเซ
- ทรงตัวลำบาก
- ตาพร่ามัว
- ปากเบี้ยว มุมปากกระตุก กลืนลำบาก พูดไม่ชัด
- ปวดศรีษะ
- เสี้ยวด้านหนึ่งของร่างกายชา หรือ อ่อนแรงกว่าปกติ
- ความเสี่ยง
- เมื่ออายุมากขึ้น หินปูนที่เกาะในเลือดจะยิ่งมีมาก ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
- ในผู้ชายจะพบว่าเป็นมากกว่าผู้หญิง
- มีภาวะแข็งตัวของหลอดเลือดมากกว่าปกติ
- วิธีป้องกัน
- ควบคุมอาหารหวาน มัน เค็ม
- ออกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่สูบบุหรี่
- ควบคุมความดัน ไขมัน และปริมาณน้ำตาลให้เป็นปกติเสมอ
3. โรคข้อเสื่อม
- ชาย : 5.80
- หญิง : 12.67
- สาเหตุ
- ส่งผ่านทางพันธุกรรม
- มีน้ำหนักเกินกว่าปกติ
- กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
- อุบัติเหตุ หรือ การใช้งานที่มากเกินไป
- อาการ
- มีอาการปวดเมื่อต้องขยับข้อนั้น
- ฝืดเคือง เคลื่อนไหวได้ไม่ถนัด
- กล้ามเนื้อที่อยู่รอบบริเวณข้อมีการอ่อนแรง เนื่องจากถูกใช้อย่างหนัก หรือ ถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ใช้เลยนานเกินไป
- ความเสี่ยง
- ผู้ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
- คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
- ผู้ที่ใช้ส่วนข้อนั้นๆ รับน้ำหนักมากจนเกินไปโดยไม่ได้พัก
- วิธีป้องกัน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ระมัดระวังร่างกายไม่ให้ได้รับอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือน
- ออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่ต้องหักโหมมากจนเกินไป
4. ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- ชาย : 3.75
- หญิง : 4.12
- สาเหตุ
- การสูบบุหรี่
- มลพิษทางอากาศ
- โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT) เป็นต้น
- ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมาก่อน
- ผู้ที่มีอายุ 40 ขึ้นไปจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- อาการ
- ไอและมีเสมหะมาก
- ช่วงตื่นนอนจะรู้สึกเหนื่อยหอบมากกว่าปกติ
- แน่นหน้าอก
- หายใจลำบาก
- หายใจแล้วมีเสียงวี๊ด
- ปากและเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง
- ความเสี่ยง
- หากปล่อยทิ้งไว้จะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
- มีโอกาศเกิดขึ้นสูงกับผู้ที่สูบบุหรี่
- คนสูงวัยที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปมีภาวะเป็นมากกว่าวัยอื่น
- วิธีป้องกัน
- เลิกสูบบุหรี่ หรือ อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงสูดดมมลพิษทางอากาศโดยตรง
- ตรวจสุขภาพปอดอย่างสม่ำเสมอ
5. โรคหัวใจขาดเลือด
- ชาย : 2.59
- หญิง : 1.68
- สาเหตุ
- หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้เลี้ยงเลือดได้ไม่เพียงพอ
- การสูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์
- ทานอาหารหวาน มัน เค็มจนติดเป็นนิสัย
- อาการ
- เจ็บหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด
- มีอาการปวดหน้าอกร้าวไปถึงสะบักหลัง แขนซ้าย และหัวไหล่
- เหงื่อออก หน้าซีด คล้ายจะเป็นลม
- จุกที่บริเวณคอหอย หรือ ใต้ลิ้นปี่
- ความเสี่ยง
- นำไปสู่ภาวะหัวใจตายและอาจเสียชีวิตได้
- วิธีป้องกัน
- เลิกสูบบุหรี่
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
- ทานอาหารอย่างถูกโภชนาการ และไม่หวาน มัน เค็ม
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6. วัณโรค
- ชาย : 2.64
- หญิง : –
- สาเหตุ
- ได้รับเชื้อทางอากาศ
- ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค
- มีปัญหาสุขภาพสะสมมาก่อนหน้า
- อาการ
- ไอต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์
- น้ำหนักลด
- เบื่ออาหาร
- เสมหะมีเลือดปน
- เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
- อ่อนเพลีย
- ผิวหนังซีดเหลือง
- ความเสี่ยง
- อยู่ในที่แออัดติดต่อกันเป็นเวลานาน
- เชื้อโรคสามารถลอยไปตามอากาศได้
- คนที่มีภูมิต่ำจะมีความเสี่ยงติดง่ายกว่าปกติ
- เด็กและผู้สูงวัยจะเสี่ยงกว่าวัยอื่น
- วิธีป้องกัน
- ปิดหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในที่แออัด
- ฉีดวัคซีนวัณโรคป้องกันเชื้อ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
7. หูหนวก
- ชาย : 1.81
- หญิง : 1.46
- สาเหตุ
- มีขี้หูไปปิดกั้นการได้ยิน
- มีการติดเชื้อในหู
- แก้วหูทะลุ
- มีความผิดปกติของท่อยูสเตเซียน
- อาการ
- ได้ยินเสียงพูดไม่ชัดเจน
- ได้ยินเสียงต่างๆ ลำบากขึ้น
- ต้องให้ผู้อื่นพูดซ้ำอยู่บ่อยๆ
- มีอาหารเสียงดังอยู่ในหู
- ไม่สามารถหาที่มาของแหล่งเสียงได้
- ความเสี่ยง
- อายุเพิ่มมากขึ้นก็จะเสี่ยงเป็นมากขึ้น
- มีโรคมีเนียแทรกซ้อน
- มีภาวะภูมิแพ้ตัวเอง
- ใช้ชีวิตเสี่ยงจนได้รับอุบัติเหตุ
- วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เสียงดังไป
- ปกป้องการใช้เสียงมากในชีวิตประจำวัน
- เลิกสูบบุหรี่
- กำจัดขี้หูอย่างถูกวิธีเป็นประจำ
- เข้ารับการตรวจการได้ยินจากแพทย์
8. มะเร็งตับ
- ชาย : 0.50
- หญิง : 0.24
- สาเหตุ
- ยังไม่ทราบสาเหตุ 100% แต่คาดว่ามาจากยีนส์ในเซลล์ตับผิดปกติ หรือมีกลุ่มอาการเช่น
- BRCA 1 , BRCA 2
- PALB 2
- Familial atypical multiple mole melanoma (FAMMM ) syndrome
- Familial pancreatitis PRSS 1 gene
- Lynch syndrome ( HNPCC)
- Peutz – Jeghers syndrome STK 11 (www.cancer.org ) American cancer society
- อาการ
- ปวดท้องใต้ลิ้นปี่
- ตัวเหลือง
- ตาเหลือง
- ตับโต
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลดลงผิดกว่าปกติ
- ความเสี่ยง
- ผู้ดื่มแอลกอฮอล์มานาน
- มีภาวะไขมันพอกตับ
- มีน้ำหนักเกิน
- มีภาวะเป็นไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี
- วิธีป้องกัน
- งดการสูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์
- งดการใช้ใบมีดโกน หรือ เข็มร่วมกับคนอื่น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์เสมอ
9. โรคสมองเสื่อม
- ชาย : 0.48
- หญิง : 0.61
- สาเหตุ
- พร่องวิตามินบี 12
- ผลจากยาที่ใช้บางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า เป็นต้น
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากตนเอง
- อาการ
- พูดหรือถามเรื่องเดิมซ้ำๆ
- หาของไม่เจอบ่อยๆ
- ลืมเรื่องเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา
- บุคลิกอารมณ์เปลี่ยนไป
- บกพร่องทักษะที่เคยทำได้ เช่น การใช้รีโมต การทำกับข้าว เป็นต้น
- ความเสี่ยง
- ผู้มีภาวะสมองตีบ
- มีภาวะแทรกซ้อนของโรคอัลไซเมอร์
- วิธีป้องกัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ดื่มน้ำมากๆ
- เข้าพบปะสังคม หรือออกไปพูดคุยสมาคมกับคนบ่อยๆ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้องตามโภชนาการ
10. โรคไตอักเสบและไตพิการ
- ชาย : –
- หญิง : 6.16
- สาเหตุ
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- โรคจากภูมิคุ้มกันตนเอง
- มีการอักเสบจากกลุ่มหลอดเลือดอักเสบ
- อาการ
- มีปัสสาวะเป็นคล้ายโคล่า จากการปนเปื้อนของเซลล์เม็ดเลือดแดง
- มีอาการบวมน้ำ
- ความดันโลหิตสูง
- อ่อนล้า อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง
- ปวดข้อ
- เป็นผื่น
- มีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ
- ความเสี่ยง
- ทำให้มีโอกาศไตวายได้
- อาจทำให้เกิดโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
- ความดันโลหิตมักสูงกว่าปกติ
- วิธีป้องกัน
- ลดการสูบบุหรี่
- ควบคุมน้ำตาล
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
ก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างมั่นคงกับบำนาญ 3,000 บาท
- ผู้สูงวัยทุกคนสามารถเข้าร่วมโครงการได้ เพียงแค่ถือบัตรผู้สูงอายุ
- ร่วมเข้าโครงการออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาพ พร้อมเงิน 3,000 บาท
- อยู่ได้อย่างสุขภาพแข็งแรง ไม่เบียดเบียนลูกหลาน
- มีศักดิ์ศรี และมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างดี
- เพิ่มฐานเศรษฐกิจตั้งแต่รากขึ้นมา
- ผู้ป่วยลดน้อยลง เพราะสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น