จากสถิติในปี 2562 ได้มีการสำรวจว่า
มีผู้ป่วยพิการภายในประเทศกว่า 3.7 ล้านคน
แต่มีผู้ป่วยเกินครึ่งเลยทีเดียวค่ะ
ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและได้รับการสนุบสนุนอย่างถูกต้อง
ซึ่งจริงๆ นี่ถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่งเลยค่ะ
ที่ยังขาดการซัพพอร์ตอย่างทั่วถึง
รวมถึงปัญหาอีก 10 อย่างนี้
ที่นิคคิดว่าเราควรให้การแก้ปัญหา
และเข้าถึงอย่างเร่งด่วน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยพิการทั่วประเทศค่ะ
1 บริการการขนส่งสาธารณะ
ปัจจุบันการเดินทางด้วยรถสาธารณะสำหรับผู้พิการ
แทบไม่ได้แตกต่างไปจากยุคก่อน
ไม่มีรถขนส่งที่มากเพียงพอ
ไม่มีบริการที่รองรับสำหรับผู้พิการอย่างเข้าถึง
ลองนึกถึงการที่ผู้พิการสักคนจะต้องขึ้นรถไฟฟ้าดูก็ได้ค่ะ
โดยส่วนมากจะต้องเบียดเสียดกับผู้คนบนรถอย่างหนาแน่น
ที่นั่งสำรองมีไม่เพียงพอ
รวมไปถึงผู้ที่คอยให้อำนวยความสะดวกบนสถานีก็ยังน้อย
คงจะดีไม่น้อยเลยค่ะ
ถ้าหากในอนาคตเราหันมาใส่ใจเรื่องนี้กันมากขึ้น
2 การสนับสนุนทางการศึกษา
ผลสำรวจจากองค์การยูนิเซฟในไทยพบว่า
เด็กที่เป็นผู้พิการในวัยเรียนขาดการศึกษาทุกๆ 2 ใน 3 คน
ส่วนเด็กที่เป็นผู้พิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด
จะไม่ได้รับการศึกษาทุกๆ 1 ใน 3 คนเลยทีเดียวค่ะ
นิคคิดว่าคงจะดีมากเลยค่ะ
ถ้าหากว่ามีองค์กร หรือทางภาครัฐเข้ามาสนับสนุน
การเรียนหรือโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับผู้พิการ
ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าตอนนี้ที่มีอยู่
เพื่อเพิ่มทางเลือกและเพิ่มโอกาสให้ผู้พิการทุกๆ ท่าน
ได้รับการศึกษาอย่างไม่จำกัดหรือแออัดจนเกินไป
3 เครือข่ายการคุ้มครองที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
เครือข่ายที่ให้บริการแก่ผู้พิการในปัจจุบัน
มีแค่องค์กรเฉพาะทาง และโรงพยาบาลเท่านั้น
ซึ่งมันอาจจะยังน้อยเกินไป
ทำให้เข้าถึงหรือดูแลได้อย่างไม่ทั่วถึงค่ะ
แต่ถ้าหากภาครัฐได้จับมือรวมกับภาคเอกชน
ทำให้เครือข่ายการคุ้มครองของผู้ป่วยพิการเพิ่มขึ้น
และกระจายออกไปได้ทั่วประเทศ
ก็จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยพิการสามารถติดต่อ ขอความช่วยเหลือได้ง่ายยิ่งขึ้น
และทำให้ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้วยค่ะ
4 เบี้ยสนับสนุนที่ยังน้อยเกินไป
ปัจจุบันเบี้ยสนับสนุนผู้พิการจะอยู่ที่เดือนละ 800-1,000 บาทเท่านั้น
ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
และการครองชีพในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
แต่ปัจจุบันภายใต้นโยบายของพรรคไทยสร้างไทย
เราได้สนับสนุนให้เพิ่มบำนาญประชาชนเข้าไป
แก่ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี
ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงผู้ป่วยพิการ
ที่จะได้รับเบี้ยบำนาญเดือนละ 3,000 บาท
เพียงแค่เข้าโครงการส่งเสริมสุขภาพเท่านั้นเองค่ะ
ซึ่งโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยพิการ-ผู้สูงวัย
และเพิ่มความมั่นคงให้แก่ลูกหลาน
ที่ไม่ต้องคอยส่งเงินให้คนทางบ้านคราวละมากๆ อีกด้วยค่ะ
5 ผู้ดูแลในการสื่อสารที่ยังขาดแคลน
มีผู้ป่วยพิการทางด้านการสื่อสารอยู่มาก
ที่จำเป็นต้องใช้บริการตัวกลางในการสื่อสาร
แต่ทว่าในประเทศเรายังมีคนให้บริการทางด้านนี้อยู่น้อย
ไม่ครอบคลุมทั่วถึงทั้งประเทศ
จึงทำให้โอกาสในการสื่อสารระหว่างคนปกติและคนพิการเป็นเรื่องยากไปอีกค่ะ
นิคคิดว่าข้อนี้ไม่ใช่แค่การส่งเสริมหรือซัพพอร์ตผู้พิการเท่านั้น
แต่ยังเป็นการเพิ่มความตระหนักรู้ให้แก่คนทั่วไปที่ต้องอยู่ร่วมกับคนเหล่านี้ด้วย
ซึ่งอาจมีการสนับสนุนให้เรียนรู้การสื่อสารเบื้องต้น
หรือเพิ่มอาชีพให้แก่ผู้ดูแลในการเป็นตัวกลางการสื่อสารนั่นเองค่ะ
6 สำนักขึ้นทะเบียนสำหรับคนพิการที่ยังไม่ครอบคลุม
จากที่เราได้ทราบรายงานทางสถิติกันไปแล้ว
ว่าปัจจุบันผู้ป่วยพิการในไทย
ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อได้รับความคุ้มครองอย่างถูกต้องมากกว่าครึ่ง
นั่นอาจเป็นเพราะระบบ หรือองค์กรที่เข้ามาทำเรื่อง
ยังมีกระจายไม่มากพอที่จะครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
ดังนั้นนิคคิดว่า เราควรจะต้องเพิ่มทางเลือก
หรือเพิ่มสถานที่ที่สามารถขึ้นทะเบียนทำบัตรผู้พิการให้เยอะกว่านี้
เพื่อความสะดวกสบายและเข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม
7 อาชีพตัวเลือกน้อย
นอกจากการรับหวยมาขายแล้ว
ตัวเลือกสำหรับผู้ป่วยพิการในอาชีพก็ยังถือว่าน้อย
เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีกรมแรงงานส่งเสริมหรือสนับสนุนโดยเฉพาะ
ประเทศของเราไม่ว่าจะองค์กรภาครัฐหรือเอกชน
ยังมีพื้นที่สำหรับคนเหล่านี้น้อยเกินไปค่ะ
ทางที่ดีควรตั้งองค์กรสำหรับแหล่งงานคนพิการขึ้นมาอย่างจริงจัง
เปิดพื้นที่สร้างงาน สร้างรายได้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
หรือมีการบังคับให้ภาคเอกชน
เปิดรับผู้ป่วยพิการเข้าทำงานอย่างกว้างขวางกว่านี้
ก็จะช่วยทำให้ผู้ป่วยพิการมีอาชีพ และสามารถสร้างรายได้ได้อย่างคนปกติค่ะ
8 พื้นที่สาธารณะสำหรับผู้พิการ
ห้องน้ำสาธารณะ อุปกรณ์กีฬาสาธารณะ
เลนส์จักรยานสาธารณะ
แต่ทำไมถึงไม่มีสิ่งของเหล่านี้อย่างเพียงพอบ้างสำหรับผู้พิการ
หรือถ้าหากมีก็ยังน้อยจนเบาบางมากๆ
นิคอยากให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นถึงส่วนนี้ด้วย
อย่าลืมว่าพวกเขาก็อยากได้สิทธิ์การเข้าถึง
ที่เหมือนกับคนปกติเช่นกันนะคะ
9 สื่อและหนังสือสิ่งพิมพ์ที่ไม่แพร่หลาย
ทั้งหนังสือเสียง อักษรเบรลล์ และอื่น ฯลฯ
สื่อมากมายแม้จะพยายามเปิดกว้างมากขึ้น
แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงผู้ป่วยพิการทุกคน
เพราะบางทีค่าใช้จ่ายก็สูง
บางรายก็ไม่มีเงินซื้อเอง จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงสื่อ สิ่งพิมพ์ดีๆ
ถ้าหากเรามีองค์กรที่สนับสนุนเรื่องนี้
หรือมีการเปิดศูนย์หนังสือสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ
ที่กระจายไปทั่วประเทศ และให้บริการฟรี
ก็จะเพิ่มทั้งการศึกษา และเพิ่มตัวเลือกให้ผู้ป่วยได้เยอะมากเลยทีเดียวค่ะ
10 การซัพพอร์ตและช่วยเหลือผู้ดูแลของผู้ป่วยพิการ
นอกจากผู้ป่วยพิการจะได้อยากการซัพพอร์ตแล้ว
ผู้ดูแลผู้ป่วยพิการเอง
ก็ถึงเป็นอีกหนึ่งในกลไกของการถูกซัพพอร์ตด้วยเช่นกันนะคะ
เพราะพวกเขาถือเป็นอีกแรงสำคัญมากๆ
และต้องการกำลังใจในการต่อสู้ไม่แพ้ผู้ป่วยพิการเลย
ดังนั้นนิคเห็นว่า
เราควรสร้างอาชีพเล็กๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน
ไม่กระทบต่อการดูแลผู้ป่วย และยังได้เงินสำหรับคนกลุ่มนี้ด้วย
หรือเป็นการซัพพอร์ตเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ได้ค่ะ
ไม่อยากให้ทุกคนละเลยความสำคัญของผู้ดูแลที่เป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้
เพราะทุกคนก็ต้องการกำลังใจและการซัพพอร์ตไม่ต่างกันเลย
จริงไหมคะ?
นิคขอส่งพลังใจ
และส่งมอบสิ่งดีๆ ให้กับทุกคนนะคะ
เราจะสู้ไปด้วยกัน!