5 อาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย เรื่องที่ลูกหลานควรใส่ใจเป็นพิเศษ โดย ดร.นิค สุวดี - ดร.นิค dr.nick สุวดี พันธุ์พานิช dr.suwadee

5 อาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย เรื่องที่ลูกหลานควรใส่ใจเป็นพิเศษ โดย ดร.นิค สุวดี

วันนี้นิคจะมานำเสนอ 5 อาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย ซึ่งเป็นเรื่องที่ลูกหลานควรใส่ใจเป็นพิเศษ

.

โรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดแค่ในเฉพาะวัยหนุ่ม-สาวเท่านั้นนะคะ

เพราะยังสามารถเกิดได้ในคนสูงวัยได้เหมือนกัน

บทความจากโรงพยาบาลจุฬาได้ยืนยันว่า

โรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย มีส่วนอาการที่คล้ายคลึงและแตกต่างกับโรคซึมเศร้าทั่วไป

.

ซึ่งโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยมีหลายปัจจัยเลยทีเดียวที่ทำให้เกิด

เช่น การถูกปล่อยปละละเลย, การสูญเสียความมั่นใจกะทันหัน เป็นต้น

ซึ่งจะส่งผลต่อทางร่างกายหรือจิตใจ

ในบางกรณีก็อาจจะมีผลทั้งสองทางเลยก็ได้เช่นกันค่ะ

.

ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรว่า

ผู้ใหญ่ที่บ้านของเรากำลังมีอาการซึมเศร้า

ลองมาเช็กอาการสำคัญๆ เหล่านี้ไปพร้อมๆ กันดูนะคะ

.

.

1 มีภาวะอารมณ์ไม่คงที่

.

สิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าชั้นดีเลยคือ

ผู้สูงวัยมีอาการอารมณ์ไม่คงที่ค่ะ

บางรายอาจมีอารมณ์รุนแรงมาก โมโหร้าย ฉุนเฉียวง่ายกว่าปกติ

.

หรือในบางรายก็อาจจะมีอาการสะเทือนใจง่าย

น้ำตาไหลบ่อย หรือโทษตัวเองบ่อยๆ ว่าเป็นภาระของลูกหลาน

ถ้าหากผู้สูงวัยที่บ้านไหนมีอาการเข้าข่ายไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม

ทางการแพทย์แนะนำว่า

ให้ลองรับฟังผู้สูงวัยระบายอารมณ์จนถึงที่สุดก่อน

แล้วค่อยๆ เข้าไปจับมือ นวดมือ เพื่อให้ผู้สูงวัยผ่อนคลายค่ะ

.

.

2 นอนไม่หลับ หรือ หลับมากเกินพอดี

.

นอกจากสัญญาณทางจิตใจแล้ว

ก็ยังมีสัญญาณทางกายด้วยค่ะที่จะแสดงออกมา

หนึ่งในนั้นคือเรื่องของ “การนอนหลับ”

ที่ผู้ใหญ่บางท่านอาจจะมีอาการนอนไม่หลับ

หลับยากมากกว่าปกติ

หรือมีการนอนหลับๆ ตื่นๆ อยู่บ่อยๆ นั่นเองค่ะ

.

ในทางกลับกันก็มีกรณีของการแสดงออกว่านอนบ่อยเกินไป

อยากนอนทั้งวัน นอนมากจนผิดปกติ

ไม่อยากลุกไปไหน ไม่อยากทำอะไร

อาการแบบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยได้เช่นกันค่ะ

.

ดังนั้นทางแก้ในวิธีนี้นะคะ

ทางการแพทย์แนะนำว่า ให้ลองชวนผู้ใหญ่ที่บ้านพูดคุย

เพื่อระบายความอัดอั้นตันใจ

หรือถ้าหากทำแล้วยังไม่ได้ผล

ให้ลองชวนผู้ใหญ่ไปทำกิจกรรมแปลกใหม่ดูค่ะ

หรืออาจจะพาออกไปเที่ยวเปิดหูเปิดตาที่ใหม่ๆ บ้างก็ได้

เพื่อสร้างสีสันให้ชีวิตของผู้สูงวัยมากขึ้น ไม่จับเจ่ากับที่เดิมๆ นั่นเองค่ะ

.

.

3 แรงตก ปวดเอว ปวดตัว

.

นอกจากจะมีเรื่องของอาการนอนไม่หลับแล้ว

ก็อยากให้ลูกๆ หลานๆ หลายบ้านคอยสังเกต

เรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตในประจำวันกันด้วยนะคะ

ว่าผู้ใหญ่ในบ้านมีปัญหาเรื่องแรงตก บ่นปวดตัว ปวดเอวบ้างไหม

.

เพราะการปวด เจ็บออดๆ แอดๆ

หลายคนมักมองข้ามและคิดว่าเป็นอาการที่มาตามวัยที่ชราภาพลง

แต่จริงๆ แล้วแพทย์ให้ความเห็นว่า

เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของอาการซึมเศร้าที่มากับผู้สูงวัยเช่นกัน

เพราะถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของวัย หรือช่วงรอยต่อ

ที่ผู้ใหญ่บางคนยังทำใจไม่ได้ และไม่อยากยอมรับ

จึงทำให้แสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน

.

ทางแก้ของเรื่องนี้คือ

แพทย์แนะนำนะคะ ว่าให้เข้าไปไถ่ถาม แสดงอาการเป็นห่วง

รับฟังและพูดคุยบ่อยๆ ให้กำลังใจมากๆ

เพื่อให้ผู้สูงวัยค่อยๆ ยอมรับและต่อสู่กับภาวะที่เปลี่ยนไปกับร่างกายตนเองค่ะ

.

.

4 กินข้าวน้อย หรือแทบไม่กินอะไรเลย

.

ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงวัย หรือคนวัยหนุ่ม-สาว

สัญญาณของการกินข้าวไม่ได้

ย่อมหมายถึงภาวะผิดปกติที่เกิดอะไรสักอย่างกับร่างกายแน่นอน

.

สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ

ให้ลองจับตาดูการกินข้าวของผู้ใหญ่ในบ้านดูค่ะ

ว่าเมื่อก่อนทานปริมาณเท่าไหร่ และปัจจุบันทานได้เท่าเดิมหรือไม่

ถ้าหากทานได้เท่าเดิม หรือทานมากกว่าเดิมก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าหากทานน้อย หรือวันๆ แทบจะไม่กินอะไรเลยนั้น

แสดงว่ามีบางอย่างผิดปกติแล้วแน่นอนค่ะ

.

ทางแก้ของเรื่องนี้ในเบื้องต้นคือ

ให้ลองปรับเปลี่ยนเมนูในการทานอาหารดู

จัดจานให้น่าทานขึ้น เปลี่ยนรสชาติแปลกใหม่บ้าง

เพื่อที่จะทำให้คนแก่ไม่เบื่อการรับประทานอาหาร

หรืออาจลองปรึกษาหมอให้รับประทานอาหารเสริม

เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารให้มากขึ้นค่ะ

.

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ

เพราะการกินถือว่าเป็นเรื่องใหญ่

ถ้าหากผู้ใหญ่ไม่รับประทานอาหารเลยจะทำให้ป่วยง่าย

และอาจทำให้ยารักษาบางตัวด้อยประสิทธิภาพลง

ดังนั้นลูกๆ หลานๆ อย่าลืมให้ความใส่ใจเรื่องนี้กันด้วยน้า

.

.

5 เหม่อลอย พูดน้อย ไม่ร่าเริง

.

อีกหนึ่งอาการสุดท้ายที่ลูกหลานหลายคนอาจไม่สังเกต

คือ อาการเหม่อลอย พูดน้อย ไม่แจ่มใสของคนสูงวัย

ซึ่งพฤติกรรมก็จะเป็นอย่างที่นิคอธิบายไปเลยค่ะ

นั่นคือการไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากออกไปไหน

วันๆ ก็นั่งเหม่อลอย ใครชวนพูดอะไรก็ไม่ตอบ

.

แพทย์วิเคราะห์นะคะว่า

อาการเหล่านี้มาจากสภาพจิตใจที่สูญเสียความมั่นใจ

รู้สึกว่าจู่ๆ ชีวิตตนเองไม่มีคุณค่าเหมือนแต่ก่อน

ผนวกกับการที่ลูกหลานอาจจะไม่ได้มาให้เวลา

หรือให้ความใส่ใจมากมายนัก

เลยทำให้เกิดภาวะเซื่องซึม ซึมเศร้าจนไม่อยากทำอะไรค่ะ

.

ทางแก้ในเรื่องนี้ คือ การที่ลูกหลานกลับไปเยี่ยมคนสูงวัยบ่อยๆ

หรือใครที่อยู่บ้านเดียวกันอยู่แล้วก็ชวนพูดคุยเรื่องสนุกๆ

ใช้เวลาร่วมกันให้มากๆ

หรืออย่างน้อยๆ ที่สุด ก็ควรหากิจกรรม หรือส่งเสริมให้เขาประกอบอาชีพ

เพื่อที่จะได้ไม่เหงา ไม่เบื่อ

และรู้สึกว่าตนเองกลับมามีคุณค่าอีกครั้งค่ะ

.

.

อย่างที่นิคได้กล่าวไปแล้วนะคะ

ภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่สามารถเกิดได้หลายปัจจัยเลยค่ะ

ทั้งทางสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ

และทางด้านจิตใจที่โดนกระทบกระเทือนจนทำให้สูญเสียความเชื่อมั่น

เช่น เจออุบัติเหตุ, สูญเสียคนที่รัก, หรือแม้กระทั่งเข้าสู่วัยเกษียณ

.

ผู้สูงวัยบางคนเมื่อไม่มีงานทำก็รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า

เพราะเมื่อไม่มีงาน ก็ไม่มีเงิน ต้องคอยพึ่งพาลูกหลานเพียงอย่างเดียว

ครั้นจะให้พึ่งพาเบี้ยยังชีพเพียง 600 บาทต่อเดือนก็ไม่พอจะใช้

จึงทำให้ผู้สูงวัยหลายคนในประเทศจับเจ่า เกิดอาการซึมเศร้า

.

แต่เนื่องจากประเทศเรากำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

เราจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะสร้างเสริมอาชีพให้คนสูงวัย

ได้กลับมามีความมั่นใจ และมีรายได้อย่างมีศักดิ์ศรีอีกครั้ง

ไม่ใช่แค่เงินบำนาญที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 บาทเท่านั้น

แต่โครงสร้างเศรษฐกิจจะปรับทั้งภาครัฐและเอกชน

ให้ผู้สูงวัยที่แข็งแรงได้กลับเข้าสู่ระบบการทำงาน

สร้างเสริมอาชีพ และไม่ต้องเป็นคนแก่ที่พึ่งพาแต่ลูกหลานอีกต่อไปค่ะ

.

.

ทุกคนคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้บ้างคะ

ผู้สูงวัยที่บ้านมีอาการแบบไหนกันบ้าง มาแชร์กันค่ะ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

ร้องเรียน - ร้องทุกข์