ปัญหาสุขภาพทางใจ
ไม่ได้เกิดกับแค่คนปกติอย่างเราๆ เพียงอย่างเดียวค่ะ
รู้มั้ยคะ ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยพิการด้วย
และเผลอๆ ผู้ป่วยพิการ อาจจะเป็นคนสำคัญ
ที่อยากได้กำลังและการซัพพอร์ตทางจิตใจ
มากกว่าพวกเราด้วยซ้ำไป
วันนี้นิคจะพาทุกคนไปเรียนรู้วิธีการซัพพอร์ตจิตใจ
ของผู้ป่วยพิการไปพร้อมๆ กัน
เพื่อส่งต่อความรัก ความห่วงใย และความหวังดีให้แก่พวกเขา
ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในบ้านเราอย่างเดียวนะคะ
แต่สำหรับผู้ป่วยคนอื่นๆ ที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันด้วย
จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ
1 ถามความต้องการก่อนลงไปช่วย
ทราบมั้ยคะ ว่าจริงๆ แล้วผู้ป่วยพิการ
ไม่ได้ต้องการถูกมองว่า เป็นคนที่ทำอะไรไม่ได้เลยตลอดเวลา
ในบางเรื่องผู้ป่วยเองต้องการการยอมรับแบบคนปกติทั่วไป
ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้คิดหรือกระทำแบบนั้นกับพวกเขา
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าช่วยโดยทันที โดยที่ยังไม่ได้ถามเขาว่าต้องการหรือไม่
ในบางครั้งพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ผู้ป่วยพิการรู้สึกแย่
ไม่ได้รู้สึกแย่ที่ถูกช่วยเหลือนะคะ
แต่ในบางกรณีอาจจะรู้สึกแย่ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็ได้ค่ะ
ดังนั้นก่อนเข้าช่วยเหลือ ลองถามก่อนว่าเขาอยากได้อะไรไหม
บางทีเราอาจไม่ต้องช่วยทั้งหมด
แต่คอยช่วยเล็กๆ น้อยๆ ให้ผู้ป่วยได้ลองทำอะไรเองบ้างในบางครั้ง
จะช่วยสร้างทั้งความภูมิใจ และลดความอึดอัดลงได้ด้วยค่ะ
2 ชวนพูดคุย สนทนากันเป็นประจำ
ผู้ป่วยพิการไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม
ส่วนมากมักจะถูกเก็บเงียบอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง
ซึ่งเราโดยปกติมักจะไม่ได้พบปะ หรือพูดคุยกับใครมากนัก
ถ้าหากคนที่ดูแล หรือคนในบ้านยิ่งห่างเหิน หมางเมิน ไม่พูดคุยกันไปอีก
แพทย์ก็ได้ออกมายืนยันแล้วค่ะ
ว่าจะส่งผลต่อสุขภาพทางใจของผู้ป่วยเองโดยตรง
ซึ่งปัญหาก็ไม่ได้จบเพียงแค่นั้นนะคะ
เพราะถ้าหากผู้ป่วยเริ่มเข้าสู่ภาวะเศร้าซึมเมื่อไหร่
ก็จะมีผลต่อการรักษา และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ด้วย
3 พาออกไปเดินเล่น เปลี่ยนสภาพแวดล้อมบ้าง
โดยส่วนมากผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยพิการ
มักจะต้องพักรักษาตัวอยู่ภายในบ้านเกือบตลอดเวลา
การอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ
อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเบื่อหน่าย
และรู้สึกเศร้ากับสภาพแวดล้อมที่ตนเองเป็นอยู่ได้
ทางแก้ปัญหาในเรื่องนี้ แพทย์เองก็แนะนะคะว่า
ควรพาผู้ป่วยออกไปเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง
หากไม่สะดวกถึงขนาดพาไปสวนสาธารณะ
ก็ควรให้ออกมาตากลม หรือนั่งดูสวน ดูรถหน้าบ้านก็ยังดี
ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ง่ายที่สุด
และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยค่ะ
4 คุ้มครองสิทธิ์เบื้องต้นของผู้ป่วย
ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ป่วยพิการ
ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์มากกว่าครึ่ง
ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าสนใจและน่าตกใจไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
โดยปัจจุบันผู้ป่วยพิการจะได้รับสิทธิ์คุ้มครองเดือนละ 800-1,000 บาท
แต่ถ้าหากเข้าโครงการบำนาญประชาชน
ผู้ป่วยพิการจะได้รับเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 3,000 บาท
ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้นะคะ ว่าปัจจุบันเงินก็เป็นส่วนสำคัญ
ที่ช่วยซัพพอร์ตทั้งความสบายใจทั้งทางกายและใจได้
เพราะจะไม่ทำให้ลูกหลานเป็นภาระ
และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีศักดิ์ศรี มีความเท่าเทียมเทียบเท่ากับคนอื่นๆ ด้วยค่ะ
5 รับฟังอย่างจริงใจ
ขนาดคนธรรมดาอย่างเราๆ
ยังต้องการใครสักคนที่รับฟังเราได้อย่างจริงใจเลยใช่มั้ยคะ
แล้วผู้ป่วยพิการ หรือผู้ป่วยติดเตียง
ที่ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้เจอใคร
และมีความเจ็บป่วยทางร่างกาย ไม่สามารถขยับได้อย่างอิสระ
ทำให้มีความเครียดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ยิ่งไม่มีใครคอยให้รับฟัง หรือระบายความอึดอัดในใจ
ก็จะทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพปัญหาทางจิตใจได้ค่ะ
ดังนั้นหากใครที่ต้องดูแลผู้ป่วยพิการ
อย่าลืมหันมารับฟังกันให้มากๆ นะคะ
รับฟังกันอย่างจริงใจ แม้ไม่ต้องทำอะไรมากมาย
แต่การแค่ได้นั่งฟังกันเฉยๆ ได้รับรู้ความรู้สึกของเขา
เท่านั้นก็ถือว่าเป็นการซัพพอร์ตทางใจอย่างนึงที่มีค่ามากๆ แล้วล่ะค่ะ
6 ส่งต่อพลังบวก สร้างเสียงหัวเราะ
การสร้างเสียงหัวเราะถือเป็นสิ่งสำคัญมากนะคะ
เพราะการหัวเราะจะทำให้ร่างกาย
หลังสารเอ็นโดรฟินออกมา
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “เพรฌฆาตฆ่าความเศร้า” เลยก็ว่าได้ค่ะ
เพราะสมองจะถูกกระตุ้นให้มองโลกในแง่ดี
ทำให้ลบความเศร้าซึมต่างๆ ได้แทบจะในทันทีเลยค่ะ
เห็นไหมคะว่าข้อดีของการส่งพลังบวกให้กับคนไข้
สร้างเสียงหัวเราะให้กับพวกเขา
สามารถซัพพอร์ตพลังทางใจได้อย่างมหาศาล
ไม่ได้มีประโยชน์แค่กับคนไข้
แต่คนที่ดูแลก็ได้รับการฮีลใจไปด้วยเช่นกันค่ะ
7 อย่ากลัวการขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์
ถ้าหากแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแล
มีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปกติ
ไม่ค่อยกินข้าว ไม่ค่อยคุย หรือพยายามทำร้ายตัวเอง
อย่ากลัวที่จะพาผู้ป่วยไปพบผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์
หรือการเข้าพบนักจิตปรึกษาก็ได้ค่ะ
เพราะถ้าหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรงทางจิตแทรกซ้อน
แพทย์จะได้จ่ายยาให้ทานอย่างเหมาะสม
เพื่อบาลานซ์สารเคมีในสมองให้ทำงานเหมือนคนปกติทั่วไป
ทำให้ง่ายต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจในลำดับต่อไปนั่นเองค่ะ
นิคคิดว่าเรื่องของสภาพจิตใจ
ไม่ว่าจะใครก็ควรต้องได้รับการใส่ใจดูแล
ทั้งผู้ป่วยและคนธรรมดาอย่างเราๆ
นิคจึงขอส่งต่อความรัก ความห่วงใยให้กับทุกๆ คนที่อ่านนะคะ
กอด