เนื้อหาภายในอัลบั้ม
พี่น้องอสม. และ อสส. ในปัจจุบันมีจำนวนรวมกว่า 1.04 ล้านคน
ที่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ ฌกส. อสม.
อีกทั้งยังได้รับเงินค่าป่วยการ และค่าเยียวยา-ค่าเสี่ยงภัยจากโควิดอีกด้วย
แต่ทราบหรือไม่คะว่า
จำนวนผู้ที่โดนปลดให้พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิก อสส. และ อสม. ก็ยังมีอยู่มากเลยทีเดียว
ใครไม่อยากโดนปลด จนเสียสิทธิ์ของตัวเองไปเปล่าๆ
มาเช็กกับนิคกันค่ะ ว่าเรากำลังทำอะไรผิดพลาดไปมั้ย
1 โดนโหวตออก
เช่น ในกรณีที่อสส. หรือ อสม. คนนั้นทำตัวเกเร
พูดจาไม่ดีต่อผู้ที่เป็นคนป่วยภายในหมู่บ้าน
จนทำให้คนในละแวกรู้สึกไม่พอใจกับพฤติกรรม
ก็อาจมีการลงคะแนนเพื่อให้เจ้าหน้าที่คนนั้นพ้นจากสภาพได้ค่ะ
หรืออีกกรณีหนึ่งก็คือ เป็นคนที่มาติดยาจนไม่สามารถทำงานได้
สร้างความหวาดกลัวให้คนในพื้นที่ขณะทำงาน
เกิดเคสแบบนี้ก็สามารถโดนปลดได้เช่นกันค่ะ
รวมไปถึงการลักขโมยของจากคนในพื้นที่
หรือแม้แต่การขโมยของจากส่วนรวมของอสม. ไปใช้ส่วนตัว
หากมีการจับได้ ชาวบ้านหรือเพื่อนอสม. ด้วยกัน ก็จะทำการโหวตออก
ให้พ้นจากสภาพการเป็นอสส. หรือ อสม.
ดังนั้นนิคคิดว่า ถ้าหากใครที่เห็นเพื่อนใกล้เคียงทำพฤติกรรมนี้อยู่
หรือว่ารู้ตัวว่าตัวเองกำลังทำนิสัยไม่น่ารัก ให้ตักเตือนกันเอาไว้แต่เนิ่นนะคะ
2 ป่วยหนัก-พิการ
หากพี่น้องอสม. หรือ อสส. คนนั้นตอนสมัครมามีร่างกายที่แข็งแรงดี
แต่ในภายหลังเกิดมีอาการเจ็บป่วย หรือพิการในตอนหลัง
จะมีการเชิญให้ออกจากการเป็น อสส. หรือ อสม.
เนื่องจากการป่วย หรือความพิการ
ไม่สามารถทำให้เจ้าหน้าที่คนนั้นลงปฏิบัติพื้นที่ได้อย่างเพื่อนอสม. คนอื่นนั่นเองค่ะ
เหตุการณ์แบบนี้นิคต้องขอแสดงความเห็นในมา ณ ที่นี้นะคะ
แต่พี่น้องชาวอสม. อสส. ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ
เพราะต่อให้จะหมดหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นอสส. อสม.
แต่สิทธิ์การเป็นสมาชิก ฌกส.อสม. ก็ยังอยู่เหมือนเดิม
ดังนั้นเพื่อนๆ สมาชิกทุกท่านอย่าลืมเช็กสิทธิ์ตัวเอง และส่งเงินต่อกันอย่าให้ขาดนะคะ
3 ย้ายมาที่ใหม่ไม่เกิน 6 เดือน
อีกเรื่องที่สำคัญเลยค่ะ คือ
เจ้าหน้าที่อสม. คนใดก็ตามที่ประสงค์อยากสมัครเข้าไปสมาชิกอสม.
หรือสมัครผ่านเข้ามาแล้วแต่มีการตรวจสอบได้ภายหลัง
ว่าเป็นคนที่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่นั้นได้ไม่นาน
อาศัยได้ยังไม่เกิน 6 เดือนดี ก็จะมีการเชิญเจ้าหน้าที่คนนั้นออก
เนื่องจากยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า
เป็นคนในพื้นที่ หรือ ภายในชุมชนนั้นจริงหรือไม่นั่นเองค่ะ
ยกตัวอย่างนะคะ
เช่น ป้าแต้ว เดิมเป็นคนสมุทรปราการ แต่ย้ายไปอยู่เชียงใหม่
ป้าแต้วต้องการสมัครเป็นอสม. ในอ.จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
แต่ปรากฏว่าป้าแต้วไม่ผ่านการสมัคร
นั่นเป็นเพราะป้าแต้วเพิ่งย้ายมาอยู่ที่ อ.จอมทอง ได้ไม่ครบ 6 เดือน
หมายความว่า ป้าแต้วต้องอาศัยในอ.จอมทอง ให้ครบ 6 เดือนก่อน
จึงจะสมัครและผ่านเกณฑ์การเป็นอสม. ได้อย่างถูกต้อง
นิคแนะนำว่า ถ้าหากเป็นอสม. จริงๆ ให้อยู่จนครบปี ทำความคุ้นเคยกับชาวบ้านก่อน
เก็บหลักฐานการย้ายมาอยู่อาศัยให้ชัดเจนด้วยนะคะ
เวลาไปยื่นสมัครจะได้มีหลักฐานยืนยัน ว่าเรากลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่นั่นแล้ว
4 ไม่ทำงานเกิน 3 เดือน
นิครู้มาว่า พี่น้องอสส. และ อสม. ทุกท่านจำเป็นต้องทำงานลงพื้นที่
ตามหลังคาเรือนที่ตัวเองได้รับมอบหมาย อยู่ที่ 7-15 หลังคาเรือนต่อคน
และหลังจากที่ลงพื้นที่แล้ว อสส. หรือ อสม. คนนั้น
จำต้องมีรูปถ่าย มีบันทึกการเข้าเยี่ยม และลงชื่อการเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อเป็นหลักฐานในการเขียนรายงานส่งทุกๆ เดือนด้วยใช่มั้ยคะ
หากใครที่ไม่ได้เขียนรายงานส่งเดือนนั้นๆ ก็จะไม่ได้รับค่าป่วยการ
และถ้าหากไม่ได้ส่งผลนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน
รู้หรือไม่คะว่า นอกจากค่าป่วยการจะไม่ได้แล้ว
ก็จะถูกตัดสิทธิ์การเป็นสมาชิกอสส. หรือ อสม. ด้วยเหมือนกัน
ดังนั้นเรื่องนี้ต้องระวังไว้ให้ดีเป็นพิเศษเลยนะคะ
เพราะนิคเห็นหลายคนที่เป็นอสม. ก็โดนปลดไปเฉยๆ
เพียงเพราะแค่ไม่ส่งรายงานก็มีค่ะ
5 ไม่ร่วมกิจกรรมเกิน 3 ครั้ง
โดยปกติพี่น้องอสส. หรือ อสม.
จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ
ในการรับมือ-ดูแลผู้ป่วยในชุมชนอย่างถูกต้อง
หรือแม้แต่การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ด้วย
เพื่อให้กระจายความรู้ไปยังพื้นที่ชุมชน
แต่ถ้าสมาชิกคนใดไม่เข้าร่วมกิจกรรมของอสส. หรือ อสม. เกินกว่า 3 ครั้งนะคะ
เจ้าหน้าที่คนนั้นจะถูกเรียกมาสอบ ว่าเหตุผลใดจึงไม่เข้าร่วมกิจกรรมกับคนอื่น
และถ้าหากไม่มีเหตุผลรองรับที่ชัดเจนมากพอ
เช่น ป่วย หรือติดธุระกะทันหัน ซึ่งต้องมีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจน เป็นต้น
กรณีแบบนี้ เจ้าหน้าที่อสส. หรือ อสม. คนนั้นก็จะถูกเชิญให้ออกได้ด้วยเช่นกันค่ะ
นิคคิดว่าทางที่ดี หากจะขาดควรแจ้งพร้อมส่งหลักฐานการขาดให้ชัดเจน
เพื่อที่จะได้ไม่เกิดเหตุการโดนสอบ และโดนปลดอย่างที่นิคได้เล่ามาค่ะ
6 ลาออกเอง
เมื่อพี่น้องอสส. หรือ อสม. คนใดที่ปฏิบัติหน้าที่มาอย่างดีตลอด
แต่เกิดความจำเป็นบางอย่างที่ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ได้อีกต่อไป
เช่น ต้องย้ายที่อยู่กะทันหัน หรือต้องรับหน้าที่เลี้ยงหลาน-บุตรเต็มเวลา เป็นต้น
อสส. หรือ อสม. คนนั้นสามารถขอลาออกเองได้
และหน้าที่การเป็นอสส./ อสม. ก็จะยุติไปหลังจากที่ทำการลาออกทันที
ดังนั้นนิคอยากส่งกำลังใจให้พี่น้องอสส. อสม. ทุกคนนะคะ
ลาออกกลางคันก็ไม่เป็นไร หากมีวาระหน้าได้ช่วยเหลือกันใหม่
ก็อย่าลืมกลับมาเป็นครอบครัวเดียวกัน ร่วมช่วยเหลือสาธารณะสุขไทยกันอีก
7 เสียชีวิต
พี่น้องอสส. อสม. คนใดที่ขณะเป็นสมาชิกแล้วเสียชีวิตไปก่อน
ไม่ว่าจะด้วยประสบอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือชราภาพ
การเป็นหน้าที่อสส. อสม. ก็จะถือว่าสิ้นสุดตามไปด้วยเช่นกันค่ะ
ใครที่ยังอยากทำงานอยู่ช่วยกันไปนานๆ
นิคแนะนำว่า อย่าลืมดูแลสุขภาพ ทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอกันด้วยนะคะ