อัปเดตล่าสุด! ขั้นตอนการสมัครเบี้ยยังชีพคนชราของปี 2566-2567 โดย ดร.นิค สุวดี - ดร.นิค dr.nick สุวดี พันธุ์พานิช dr.suwadee

อัปเดตล่าสุด! ขั้นตอนการสมัครเบี้ยยังชีพคนชราของปี 2566-2567 โดย ดร.นิค สุวดี

วันนี้นิคมาอัปเดตขั้นตอนการสมัครเบี้ยยังชีพคนชราเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดมาให้ทุกคนค่ะ

สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนในปี 2565 และคนที่จะลงทะเบียนเพิ่มเติมไปถึงปี 2567 วันนี้นิคมาข้อมูลดีๆ ที่สดใหม่มาอัปเดตเช่นเคย จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ไปดูกันเลยค่ะ

เบี้ยผู้สูงอายุ ปี 2566 และ ปี 2567

  • ปี 2566 คือผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนตั้งแต่ ตุลาคม 2564 – กันยายน 2565 และจะได้รับเบี้ยประจำปี 2566 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566
  • ปี 2567 คือผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน 2566 และจะได้รับเบี้ยประจำปี 2567 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567

.

.

เงื่อนไขและคุณสมบัติในการลงทะเบียน เพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

  • มีสัญชาติไทย
  • มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต/ตำบล ตามทะเทียนบ้าน
  • ต้องไม่เคยมีประวัติลงทะเบียนขอเบี้ยยังชีพมาก่อน
  • สามารถลงทะเบียนใหม่ได้ในกรณีย้ายภูมิลำเนา เช่น ปี 2563 เคยลงทะเบียนไว้ที่จังหวัดเชียงใหม่ และในปี 2566 ได้ย้ายมาที่กรุงเทพฯ ก็จำเป็นต้องลงทะเบียนใหม่กับสำนักเขตกรุงเทพมหานคร
  • ต้องไม่เคยได้รับเบี้ย หรือ สิทธิประโยชน์จากหน่วงงานรัฐรายเดือน เช่น รัฐวิสาหกิจ, เบี้ยบำนาญ, เบี้ยหวัด, ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือ ของสำนักงานท้องถิ่น และอื่นๆ ฯลฯ ในกรณีเดียวกัน เป็นต้น
  • มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คือ ต้องเกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2507 (สำหรับผู้ที่ทราบแค่ปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ๆ)

.

.

เอกสารการลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

  • ประจำตัวประชาชน หรือ บัตรที่ออกโดยหน่วยงานรัฐที่มีรูปถ่าย
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ในกรณีที่ขอรับเบี้ยผ่านทางธนาคาร

.

.

เอกสารการลงทะเบียนเบี้ยยังชีพ ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถไปได้ด้วยตนเอง

  • หนังสือมอบอำนาจ (ต้องใช้ฟอร์มที่ถูกต้อง ซึ่งติดต่อได้ตามสำนักงานเขตแต่ละพื้นที่)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ฉบับ
  • เอกสารทุกฉบับต้องเซ็นต์ชื่อสำเนาถูกต้องโดยผู้สูงอายุเจ้าของเบี้ย หากผู้สูงอายุเขียนไม่ได้ ให้ใช้วิธีการปั๊มลายนิ้วมือแทน

.

.

ลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุได้ที่ไหนบ้าง

  • สำนักงานที่มีชื่อ-ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
  • สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

.

.

อายุเลย 60 ปีแล้ว แต่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ ต้องทำอย่างไร

  • สามารถลงทะเบียนได้เลยตั้งแต่เดือน มกราคม-กันยายน ปี 2566 เพื่อขอรับเบี้ยผู้สูงอายุในเดือน ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567 เป็นครั้งแรก และไม่มีการจ่ายย้อนหลัง

.

.

ลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพสูงอายุแล้ว ยังต้องลงใหม่อีกไหม

  • ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใหม่แล้ว เพราะจะมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้ตลอดชีวิต
  • ลงทะเบียนใหม่แค่เฉพาะเวลาย้ายที่อยู่ใหม่เท่านั้น

.

.

เบี้ยผู้สูงอายุปัจจุบันได้เท่าไหร่บ้าง

  • อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600/เดือน
  • อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700/เดือน
  • อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800/เดือน
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000/เดือน

.

.

วิธีปรับเบี้ยบำนาญเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 บาท

  • ปัจจุบันพรรคไทยสร้างไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสังคมไทย ที่กำลังจะปรับตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว
  • จึงสนับสนุนให้ผู้สูงวัยลงทะเบียนออกกำลังกายสร้างสุขภาพ แถมยังได้รับเงิน 3,000 บาททุกเดือน
  • ช่วยเหลือลูกหลานให้ก่อร่างสร้างตัวได้อย่างมั่นคง ไม่ต้องคอยแบ่งเงินมาส่งเสีย
  • ส่งเสริมความมั่นใจของผู้สูงวัยให้อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ต้องพึ่งเงินคนทางบ้านเพียงอย่างเดียว
  • สร้างชาติให้แข็งแรง เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างก้าวหน้าและมั่นคง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

ร้องเรียน - ร้องทุกข์