5 สิ่งที่ทำให้ “หมอ” ลาออกจากโรงพยาบาล โดย ดร.สุวดี - ดร.นิค dr.nick สุวดี พันธุ์พานิช dr.suwadee

5 สิ่งที่ทำให้ “หมอ” ลาออกจากโรงพยาบาล โดย ดร.สุวดี

วันนี้นิคจะขอพาทุกคนมารู้จัก “ภาวะสมองไหล”

ที่กำลังเกิดขึ้นในระบบสาธารณสุขไทยตอนนี้ค่ะ

.

“ภาวะสมองไหล”

เป็นคำที่หลายคนคงจะเคยได้ยินกันใช่ไหมคะ

🟠ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มคนที่มีศักยภาพ

พากันอพยพจากที่แห่งหนึ่งไปอยู่ที่อีกแห่งหนึ่ง

🟢ซึ่งที่ใหม่นั้นเป็นที่ที่ดีกว่า เงินดีกว่า และสวัสดิการดีกว่า

มันไม่ได้ถูกจำกัดไว้ใช้แค่ในวงการใดวงการเดียวค่ะ

เพราะมันเกิดขึ้นนานแล้วในวงการ “สาธารณสุขไทย” 🇹🇭

.

🚩ปัจจุบันเกิดภาวะ “หมอไหลออกจากโรงพยาบาล”

ทั้งไหลออกจากภาครัฐไปอยู่เอกชน

และไหลออกจากระบบสาธารณสุข

ออกไปประกอบธุรกิจของตนเอง

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร❓

.

นี่คือ 5 เหตุผลที่แพทย์ไทยกำลังเผชิญค่ะ

1 คนไข้ที่มี เกินการรองรับ👨‍👩‍👧‍👧

.

จากผลสำรวจในปัจจุบันระบุค่ะว่า

แพทย์ไทยโดยเฉลี่ย 1 คนต้องรองรับคนไข้ 1,250 คน

นอกจากนี้ผลสำรวจยังระบุด้วยค่ะว่า

มีผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

กว่า 300 ล้านครั้ง/ปีเลยค่ะ!

.

เทียบกันกับจำนวนแพทย์ที่ทางแพทยสภาประกาศว่า

มีจำนวน 68,642 คนในปี 2565

กับประชากรกว่า 66 ล้านคน (สำรวจในปี 2565)

จำนวนคนหลักล้านกับจำนวนกลุ่มคนเพียงหลักหมื่น

มองด้วยตาเปล่ายังรู้เลยค่ะว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการอย่างแน่นอน

.

นั่นจึงเป็นต้นเหตุให้คนไข้ล้นเกินกว่าจำนวนแพทย์ที่มี

และทำให้แพทย์ที่อยู่ภายในโรงพยาบาลรัฐ

รั่วไหลออกไปอยู่สังกัดเอกชน

หรือรั่วไหลออกไปยังองค์กรอื่นๆ ที่ไม่ต้องรองรับคนไข้เยอะขนาดนี้ค่ะ

.

.

2 จำนวนเงินที่ไม่คุ้มค่าเหนื่อย💰☹️

.

โดยการสำรวจพบว่า

แพทย์โรงพยาบาลรัฐบาล

ได้เงินเดือนเริ่มต้นเพียงแค่ 18,000 บาทเท่านั้นค่ะ

แต่สามารถเข้าเวร หรือรับเวรจากเพื่อนคนอื่นๆ

สะสมทบรวมกับเงินเดือนได้เรื่อยๆ

ซึ่งค่าเข้าเวรจะอยู่ที่รอบละ 3,000 บาทด้วยกัน

โดยเบ็ดเสร็จแล้ว แพทย์รัฐบาลจะมีเงินเดือนเฉลี่ยที่ 40,000-60,000 บาทค่ะ

.

ในขณะที่แพทย์จากโรงพยาบาลเอกชน

จะได้เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000-140,000 บาทเลยทีเดียว

ซึ่งถือว่าต่างกันเกือบเท่าเลยค่ะ

จึงไม่น่าแปลกใจเลย

ที่ทำไมหมอโรงพยาบาลรัฐบาล

ถึงได้รั่วไหลออกไปจากระบบมากมายขนาดนี้

.

.

3 สวัสดิการที่ไม่ครอบคลุม

.

จากแบบสำรวจที่ให้แพทย์ 100 คนเข้าร่วมตอบคำถาม

ในวารสารแพทย์ปี 2559 พบว่า

แพทย์ร้อยละ 99 ลงความเห็นให้มีการดูแลสวัสดิการของแพทย์

เพื่อมาตรฐานในวิชาชีพและการดำรงชีวิตของแพทย์ด้วยค่ะ

อีกทั้งแพทย์ร้อยละ 88 ยังเห็นด้วยว่า

ควรให้แพทย์ทำงานไม่เกิน 80 ชั่วโมง/ต่อสัปดาห์

.

แม้จะเป็นการสำรวจความเห็นตั้งแต่ปี 2559 

แต่ปัจจุบันแพทย์ที่ทำงานในระบบรัฐก็ยังต้องเจอเรื่องดังกล่าวอยู่

จากผลการสำรวจสำนัก Poll STC เปิดเผยว่า

สถิติแพทย์กว่าร้อยละ 60 ต้องทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมง/วัน

และยังมีแพทย์อีกร้อยละ 30 ที่ทำงานมากกว่า 15 ชั่วโมง/วัน!

ซึ่งสอดคล้องกับแบบสำรวจในวารสารแพทย์เมื่อ 7 ปีที่แล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง

.

จึงทำให้ 90% ของแพทย์ลงความเห็นว่า

ไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ

และต้องมาทำงานแม้ตัวเองจะมีอาการป่วยก็ตาม

จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานหมอในโรงพยาบาลใหญ่

รั่วไหลออกไป เพื่อเสาะแสวงหาสวัสดิการที่ตอบโจทย์กับชีวิตมากกว่า

ทั้งในเรื่องของเงิน เวลา และคุณภาพในการเป็นแพทย์อีกด้วย

.

.

4 ประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ👵🏻👴🏻

.

อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศของเรา

เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว

คือมีประชากรที่อายุ 60 ปีมากกว่า 20% ของประเทศ

ซึ่งมองผิวเผินก็ดูไม่มีปัญหาอะไร

และไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องทางการแพทย์ใช่ไหมคะ

.

แต่ทราบหรือไม่ว่าผู้สูงวัย 20% ภายในประเทศเรา

หรือคิดเป็นจำนวน 12.8 ล้านคนนี้

ล้วนเป็นคนแก่ที่ไม่แข็งแรง

จากสำนักสถิติแห่งชาติในปี 2564 เปิดเผยว่า

แบบสำรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ

มีเพียงร้อยละ 3.3 ที่ถูกประเมินว่าเป็นคนแก่ที่สุขภาพดีมาก

และมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 1.3 ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง

.

หมายความว่ามีผู้ป่วยที่เป็นคนสูงวัย

อีกเป็นจำนวนมาก ที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

และนับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

เนื่องจากประเทศของเรากำลังเดินหน้า

เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดภายในปี 2574 นี้

.

จากการคาดการณ์ดังกล่าว

ทำให้เราประเมินได้ว่า งานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

จะต้องยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน

และจากปัญหาจุดนี้ก็จะทำให้แพทย์เก่ง ๆ

พากันออกจากระบบไปหมด

เนื่องจากไม่สามารถรองรับคนไข้ที่ล้นโรงพยาบาลได้ไหว

.

.

5 ระบบสาธารณสุขที่เข้าไม่ถึงต่างจังหวัด🏝️🏞️

.

จากแบบสำรวจค้นพบว่า

แพทย์ในพื้นที่ต่างจังหวัด

ต้องทำงานมากกว่าแพทย์ในเขตกรุงเทพฯ 2-3 เท่า

จากตัวเลขสถิติแพทย์ในจังหวัดบึงกาฬ

ต้องรองรับจำนวนผู้ป่วย 1:5,021 คน!

ในขณะที่แพทย์ในพื้นที่กรุงเทพฯ รองรับ 1:630 คน

.

สิ่งที่น่าสนใจคือ

มีพื้นที่สีแดง ที่แพทย์ต้องรองรับประชากร 1:4,000 

อยู่อีกหลายจังหวัดทั่วประเทศไทยค่ะ

นั่นเป็นเพราะระบบสาธารณสุขของเรา

ยังปูพื้นเรื่องการรักษาสุขภาพให้ประชาชนได้ไม่ดีมากพอ

วัดได้จากสถิติ Poll สำนัก STC ที่เปิดเผยว่า

ประชากรไทยกว่า 98% ขาดความรู้ด้านสาธารณสุข

.

ทำให้แพทย์ที่ผลิตเข้ามาในระบบมากเท่าไหร่

ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการเลย

หนำซ้ำแพทย์ที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ที่ขาดแคลนคน

ก็ต้องรับมือกับจำนวนคนไข้ที่เกินขอบเขตอีกด้วย

จึงทำให้แพทย์ไทยสมองไหลออกไปตามระเบียบค่ะ

.

.

🚩หากเราตั้งใจที่จะแก้ไขเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง

ไม่ใช่การตั้งคำถามว่า

“จะเพิ่มแพทย์ให้ได้มากที่สุด เพื่อรองรับความต้องการได้อย่างไร”

แต่ควรตั้งคำถามว่า

🚩“จะทำอย่างไรให้ประชากรไทยสุขภาพดีขึ้น

เพื่อลดงานของแพทย์ให้น้อยลง”

.

📣พรรคไทยสร้างไทยจึงต้องการผลักดันนโยบาย 30 บาทพลัส

“พลัส” สิ่งดีๆ ให้เพิ่มขึ้นจาก “30 บาทรักษาทุกโรค”

.

🟢โดยการใช้ระบบ DIY Healthcare 4P คือ

Predictive คาดการณ์ถึงโรคที่จะเกิดในอนาคต

Personalized ลักษณะส่วนบุคคล วิเคราะห์-ออกแบบการรักษาให้เหมาะสมกับคนๆ นั้น

Participatory มีส่วนร่วม ดึงคนรอบตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

Preventive ป้องกัน ร่วมกันดูแลป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายแรง

.

📱โดยกระบวนการทั้ง 4 เราจะดึง AI อย่าง Chat bot มาเข้าร่วม

ที่เรียกว่า หมอมือถือ Mobile Doctor

ซึ่งจะเป็นหมอประจำตัวเบื้องต้นของประชาชนทุกคน

สามารถสอบถาม พูดคุย และถามอาการของโรคได้ 24 ชั่วโมง

.

💰ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาในการนั่งรถไปหาหมอที่ต้องคอยนาน

และแพทย์ก็ลดงานลงจากจำนวนคนไข้ที่ไม่ต้องไปออกันที่โรงพยาบาล

.

🚩ซึ่ง Mobile Doctor ตัวนี้ถามว่าได้ประสิทธิภาพเท่าคนเหรอ❓

.

🟢 หมอมือถือ AU มีความรู้สูงสอบได้ใบรองรับทางการแพทย์จากสหรัฐอเมริกา 

.

อีกทั้งยังได้คะแนนเฉลี่ยจากการสอบมากกว่า 80% ในทุกรายวิชาด้วยค่ะ แต่ก็ยังสู้แพทย์จริงที่ต้องวินิจฉัยโรคอย่างถี่ถ้วนไม่ได้นะคะ 

.

🟢โดยตัว หมอมือถือ Mobile Doctor นี้จะทำงานเหมือนกับ ChatGPT ที่เราคุ้นเคย

หากมีอาการเจ็บป่วย สามารถสอบถามกับ Mobile Doctor ก่อนได้ หรือพูดคุยเป็นแพทย์จริงๆ ผ่านแอป

หากไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แอปฯ Mobile Doctor

จะทำการส่ง QR Code ให้ท่านไปรับยาใกล้บ้าน

.

แต่ถ้าหากมีอาการที่ต้องรักษาต่อ หรือเป็นโรคเฉพาะทาง

เจ้าแอปฯ Mobile Doctor ก็จะทำการนัดหมอเฉพาะทางให้เสร็จสรรพ

.

🚩พร้อมกันนั้นเรายังจะปูพื้นที่แนวทางสุขภาพของทั้ง

คนสูงวัยและคนรุ่นใหม่ให้แข็งแรงไปพร้อมๆ กัน

ด้วยหลัก 4P DIY Healthcare ร่วมกับนโยบายบำนาญ 3,000

ที่จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคม Well-being society ให้ได้ค่ะ

.

💖ถือเป็นช่องทางการช่วยบุคลากรทางการแพทย์

ไม่ให้ต้องรับมือกับคนไข้ที่ล้นโรงพยาบาลอีกต่อไป

อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนไม่ต้องรอคิวนานถึง 8 ชั่วโมงอีกแล้วด้วย

📣”ถึงเวลาเปลี่ยน 30 บาทรักษาทุกโรค

ให้เป็น 30 บาทพลัส เพิ่มสิ่งดีๆ ให้กับประชาชนคนไทยทุกคนค่ะ”🇹🇭

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

ร้องเรียน - ร้องทุกข์