นโยบาย

นโยบายเพื่อรับมือกับ Climate Change

ผลักดันกฎหมายและมาตรการเพื่อรับมือกับ Climate Change
รายละเอียดนโยบาย
  • ผลักดันให้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ บังคับให้มีการเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายโรงงาน ก๊าซเรือนกระจกสูงตามที่กำหนด โดยรัฐต้องช่วยให้ความรู้ทางเทคนิค
  • สร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อพัฒนาระบบการวัดผล การรายงานผล และการตรวจสอบพิสูจน์ผล (Measurable, Reportable and Verifiable หรือ MRV) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสะท้อนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงอย่างเที่ยงตรง พร้อมทั้งพัฒนาระบบติดตาม
  • บังคับใช้การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เครื่องมือซึ่งเป็นไปตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (ซึ่งผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อย โดยรัฐบาลสามารถกำหนดเป็นอัตราภาษีต่อปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้น
  • มาตรการราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) เครื่องมือปรับราคาตลาดของสินค้าและบริการให้สะท้อนต้นทุนของผลกระทบ จากการปล่อยคาร์บอน
  • ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยคาร์บอน (Emission Trading Scheme หรือ ETS) เครื่องมือกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap) ของผู้ผลิต โดยรัฐจะจัดสรรสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ผู้ผลิตแต่ละรายในรูปของใบอนุญาต (Allowance) หากผู้ผลิตรายใดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ Polluter-pays-principle) กว่าจำนวนในใบอนุญาต ก็สามารถขายต่อใบอนุญาตที่เหลือแก่ผู้ผลิตรายอื่นได้ในทางกลับกันหากผู้ผลิตรายใดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินโควต้าที่ได้รับก็ต้องซื้อใบอนุญาตต่อจากผู้ผลิตรายอื่น ถือเป็นระบบที่จำกัดปริมาณแล้วแลกเปลี่ยน (Cap-And-Trade)
  • ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเช่น Carbon Capture ในราคาที่สมเหตุสมผลส่งเสริมความยืดหยุ่นของสังคม (Resilient)รวมถึงเพิ่มความตระหนักและศักยภาพให้ประชาชนเกี่ยวกับการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ